ปัญหาแห่งจักรวาลสำหรับเหล่าแม่ๆ หลายคนที่มีหลักปฏิบัติในการเลี้ยงลูกของตัวเอง ทั้งเปิดจากตำราหรือสืบเสาะหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ จนบางครั้งถึงขั้นกางตำราวิธีเลี้ยงลูกแบบจริงจังเลยก็มี แต่ความจริงจังเหล่านั้น อาจกลายเป็นความตึงเกินไปที่ส่งผลบางอย่างต่อลูกหรือเปล่า
‘นิดนก-พนิตชนก ดำเนินธรรม’ โฮสต์รายการ เลยพยายามบอกกับคุณแม่ทุกคนผ่านรายการ ‘The Rookie Mom คุณแม่มือสมัครเลี้ยง’ ในเอพิโสดนี้ว่า จริงๆ แล้ว ทฤษฎีจากตำรา อาจเป็นแค่เพียงต้นทางหรือกระดูกสันหลังของคุณแม่ที่อาจเกาะเกี่ยวในการเลี้ยงดูลูกไปได้ เพื่อให้มีภาพหรือแนวทางในการดูแลลูกที่ชัดเจนมากขึ้น แต่บางครั้งการที่คุณแม่รู้ข้อมูลมากเกินไป อาจทำให้การขยับตัวเพื่อลูกในบางครั้งเป็นไปได้อย่างไม่คล่องตัว เนื่องด้วยข้อจำกัดที่รู้มาบางอย่าง กลับกลายเป็นคนคิดเยอะไปโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้แม่ไม่มีความสุขในการดูแลไปหรือไม่
เห็นได้จากกรณีตัวอย่าง 2 กรณีที่นิดนกเคยเห็นผ่านตามา ในบ้านหลังหนึ่งที่คุณลูกของบ้านนี้ ชอบเล่นไข่ไก่หรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายกับไข่ ตอนแรกแม่ก็ให้เล่น แต่ด้วยความกังวลในความเปรอะเปื้อน หรืออาจมีเชื้อโรคแฝงมากับไข่ ทำให้คุณแม่คนนั้นหยุดให้ลูกเล่นไข่ไปแบบดื้อๆ หรืออีกบ้านที่มีการสอนลูกแบบ 2 ภาษา ตัวคุณแม่เองก็ต้องคล่องและเป๊ะในเรื่องภาษาประมาณหนึ่ง ซึ่งก็มีความกังวลตามมาอีกว่า แล้วตัวเองจะออกเสียงได้เป๊ะเหมือนกับเสียงต้นฉบับในประเทศนั้นๆ หรือไม่
จาก 2 กรณีที่ยกมา มีแต่ความเครียดและความกังวลเต็มไปหมด จากข้อมูลที่รู้หรือตำราที่ศึกษา นิดนกได้รับรู้มาก็ยังรู้สึกว่า เหนื่อยแทน ดังนั้นแล้ว พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า “สายพิณตึงไปก็ขาด หย่อนไปก็เล่นไม่ได้ พิณที่เพราะก็คือ พิณที่ตึงพอดี” แล้วเรา (นิดนก) เป็นแม่สายพิณแบบไหนกันแน่
นิดนกกลับมาย้อนดูตัวเองก็พบว่า มีบางอย่างที่นิดนกตึงเหมือนกัน เพื่อให้กิจวัตรลูกอยู่ในร่องในรอยมากขึ้น แต่บางอย่างก็เพลาๆ ผ่อนๆ ลงมาบ้างแล้ว ซึ่งได้แก่
1. การนอน
ที่ลูกจะต้องเข้านอนเอง นอนเร็ว นอนเป็นเวลา และต้องนอนเตียงตัวเอง เพื่อให้เป็นกิจจะลักษณะและเป็นการพักผ่อนที่เพียงพอในแต่ละวัน แต่พอลูกโตและรู้เรื่องมากขึ้น อารมณ์ของลูก ก็อาจอยู่เหนือคำสั่งคนเป็นแม่อย่างเรา กลายเป็นว่าไม่มีตำราไหนบอกได้ว่า จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้ผ่านพ้นไปได้อย่างไรสุดท้ายแล้ว กลายเป็นว่า นิดนกต้องด้นสดด้วยตำรานอกบทของตัวเอง จากการอธิบายเหตุผลให้ลูกเข้าใจว่า ทำไมถึงต้องนอน โดยที่ไม่รู้ว่าลูกจะเข้าใจหรือไม่ แต่นั่นคือการปฏิบัติจริงหน้างานครั้งแรก ที่ทำให้เราเริ่มเข้าใจเรื่องความตึงหรือผ่อนตัวเองในการรับมือกับลูก
อ่านเรื่องลูกนอนดึกเพิ่มเติมได้ที่ วิธีแก้ไขปัญหาลูกนอนดึก
2. กิจวัตรประจำวันโดยปกติ
เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน สระผม ทั้งตื่นนอนและก่อนนอน รวมถึงวันหยุดก็ต้องทำ เพื่อที่จะให้มันเข้าไปอยู่ในเนื้อตัวของลูก และทำมันให้เป็นกิจวัตร แม้ว่าวันนั้นจะตื่นสายแค่ไหน ก็จำเป็นต้องทำ ซึ่งเป็นเรื่องที่นิดนกค่อนข้างตึงกับมันพอสมควร
3. ข้อห้าม 3 อย่าง
ที่เป็นข้อตกลงระหว่างนิดนกและลูก นั่นคือ ห้ามทำร้ายตัวเอง ห้ามทำร้ายผู้อื่น ห้ามทำลายข้าวของ รวมไปถึงการทำตามกติกาสังคมต่างๆ ในที่ที่ลูกไป โดยยังเป็นเรื่องที่ตึงอยู่มาก และไม่สามารถหยวนได้
4. การกินอาหาร
ที่ให้ลูกกินเองมาโดยตลอด แต่ในบางครั้งตำราก็บอกว่า ให้ป้อนผสมกินเอง เพื่อให้เป็นการปรับตัว หรือนี่อาจจะเป็นความตึงส่วนหนึ่งที่นิดนกเองก็ไม่รู้ตัว นอกจากนี้ การถูกสอนมาว่า ให้กินอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ก็เป็นอีก 1 ความรู้ที่แม่หลายคนรู้ แต่พอหน้างานเข้าจริง ที่เด็กโตและเริ่มรู้เรื่องมากขึ้น กลายเป็นว่า มีอาหารบางอย่างที่เขาเริ่มปฏิเสธ เช่น ผัก ซึ่งนิดนกเองก็เจอเหมือนกัน แต่เรื่องนี้นิดนกกลับมองว่า เป็นเรื่องไม่ซีเรียส พร้อมเมื่อไหร่ก็กิน เพราะตัวนิดนกเองก็เป็นคนกินผักไม่เก่งเหมือนกัน ซึ่งเป็นอีก 1 เรื่องที่ทำให้นิดนกเริ่มจูนสายพิณในการเลี้ยงลูกของตัวเองให้พอดีมากขึ้น
5. รสชาติ
ทุกตำราจะบอกว่า ไม่ต้องปรุง คงทุกอย่างให้เป็นธรรมชาติและเป็นกลางมากที่สุด เพื่อไม่ให้เขาติดรสชาติไปในทางใดทางหนึ่ง แต่นิดนกมองว่า ชีวิตมีเรื่องให้เหนื่อยพอแรงอยู่แล้ว บางครั้งอาจขอซื้อความสะดวกสบาย ด้วยการต้มผักหม้อด้วยกัน อาจจะเข้มข้นไปหน่อย ก็ตักให้ลูกในปริมาณที่พอดี
ไม่เว้นแม้แต่ขนม ที่ลูกของนิดนกติดใจในรสชาติของไอศกรีม ที่หวานได้ที่ถูกใจเขาอยู่ และกินง่ายด้วย ทำให้น้องได้สัมผัสถึงประสบการณ์ความหวานรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งนิดนกเองก็ไม่ได้ห้ามลูกไม่ให้กินเลย แต่ท้ายที่สุดแล้ว อาจต้องดูแลช่องปากของลูกให้ดี อีกทั้งเรื่องรสชาติ นิดนกมองว่า เป็นเรื่องที่หย่อนลงบ้างก็ได้ อย่าง นมไมโล ที่ตอนนี้ก็มีนวัตกรรมช่วยลดความหวานลงมาได้แล้ว ลูกก็ยังได้รับรสชาติหวานที่ยังอร่อยอยู่ โดยเป็นทางเลือกที่ดีของพ่อแม่ที่ทำให้ พวกเขาผ่อนเรื่องการกินและรสชาติของลูกได้ในบางอย่าง
จากทั้งหมดที่เล่ามา นิดนกมองว่า การตึงหรือหย่อนในการดูแลลูก มันทำให้พอดีจนไม่เคร่งเครียดเกินไปได้ เพราะแม่ทุกคนคือคนที่อยู่หน้างานของจริง ไม่ใช่คนเขียนตำรามาอยู่ด้วย ดังนั้น ขึ้นอยู่กับเหล่าแม่ๆ ทุกคนแล้วว่า จะปรับตัวเองในเรื่องของความตึงและผ่อนอย่างไรให้มีความสุข เพราะชีวิตครอบครัวไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่จำเป็นที่จะต้องทำตามตำราไปซะหมดก็ได้
ถึงกระนั้นก็ตาม เบื้องลึกเบื้องหลังที่สำคัญ นอกจากตำราและข้อมูลที่ได้รับมาแล้ว มันคือ ‘ความสุข’ ของลูกที่คนเป็นแม่ควรต้องคำนึง เพราะลูกเองก็รับรู้ได้ว่า แม่เครียดเกินไปกับการดูแลเขาหรือเปล่า ดังนั้น เพื่อให้เขาได้เห็นภาพที่ดีของคุณแม่และได้อยู่กับคุณแม่อย่างมีความสุข ผ่อนและหย่อนเรื่องบางอย่างลงนิดหนึ่งก็น่าจะดีไม่น้อย และหาจุดตรงกลางร่วมกัน เพื่อประโยชน์ทั้งต่อตัวลูกน้อยและความสุขที่แม่จะได้รับหลังจากนี้ด้วย เรียกได้ว่า ‘วิน-วิน’ ทั้ง 2 ฝ่ายเลย
#SalmonPodcast #TheRookieMom #คุณแม่มือสมัครเลี้ยง #นิดนก #BalancedParenting #MiloThailand #ไมโลทางเลือกสุขภาพ
ผู้เขียน
นิดนก จาก The rookie mom podcast
ฟัง The Rookie Mom คุณแม่มือสมัครเลี้ยง ได้ที่..