ทำความรู้จัก มัลติวิตามิน บี คืออะไร ดีต่อร่างกายยังไง ทำความรู้จัก มัลติวิตามิน บี คืออะไร

รู้จักส่วนประกอบในนมช็อกโกแลตมอลต์ ตัวช่วยที่มีประโยชน์ให้ลูกพร้อมลุยในทุกวัน

เด็กในวัยกำลังโตต้องการสารอาหารอย่างเพียงพอในทุกวัน ทั้งเพื่อให้การเจริญเติบโตของร่างกายเป็นไปอย่างสมบูรณ์ และเพื่อให้ร่างกายมีพลังงานเพียงพอที่จะใช้เล่นสนุกและเรียนรู้โลกกว้างไปกับกิจกรรมกลางแจ้งต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันเด็กในวัยนี้ก็มักจะช่างเลือกอาหาร เบื่อง่าย ชอบรับประทานของอร่อย คุณแม่เองจึงต้องพบกับโจทย์ยากในแต่ละวันที่ต้องเตรียมอาหารที่ทั้งให้สารอาหารอย่างเพียงพอ ไปพร้อมกับมีรสชาติที่ถูกปากลูกรัก

นมช็อกโกแลตมอลต์เอง ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับเด็กที่เบื่อนมรสจืดและมองหารสชาติที่แปลกใหม่ แต่หากคุณแม่กำลังสงสัยว่าสารอาหารที่อยู่ในนมช็อกโกแลตมอลต์นั้นมีอะไรบ้าง แล้วสิ่งเหล่านี้ให้คุณประโยชน์ต่อลูกรักของคุณแม่อย่างไร บทความนี้เรามีเรื่องราวเกี่ยวกับส่วนประกอบสำคัญที่อยู่ในนมช็อกโกแลตมอลต์มาแบ่งปันกัน จะมีอะไรบ้างลองไปดูกันเลยค่ะ

 

MILO_VitaminB-1

 

1. ประโยชน์ของวิตามินบี 2 บี 3 และบี 6 : ผู้ช่วยคนสำคัญของร่างกาย

วิตามินบี เป็นกลุ่มของวิตามินละลายน้ำได้ 8 ชนิด ได้แก่ วิตามินบี1(thiamine) วิตามินบี2 (riboflavin) วิตามินบี3 (niacin) วิตามินบี5 (pantothenic acid) วิตามินบี6 (pyridoxine) วิตามินบี7 (biotin) วิตามินบี9 (folic acid) และวิตามินบี12(cobalamin)

วิตามินบีมีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญสารอาหารหลักอย่างคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันให้กลายมาเป็นพลังงานในร่างกาย การได้รับวิตามินบีไม่เพียงพอจึงอาจนำไปสู่อาการเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียได้1 ส่วนคำว่า “มัลติวิตามินบี” ก็หมายถึงการมีวิตามินบีหลายชนิดอยู่รวมกันนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น นมช็อกโกแลตมอลต์ ที่มีทั้งวิตามินบี 2 วิตามินบี 3 และวิตามินบี 6 อยู่รวมกันในกล่องเดียว

สำหรับ วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 และวิตามินบี 6 นั้น นับเป็นผู้ช่วยคนสำคัญของร่างกายเลยก็ว่าได้ เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานแล้ว ก็ยังมีหน้าที่สำคัญอื่นๆ อีกเช่นกัน

วิตามินบี 2

ทำหน้าที่ในระบบการเผาผลาญสารอาหารเป็นพลังงาน จึงมีส่วนช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันตามปกติ นอกจากนั้นวิตามินบี 2  ยังช่วยในการทำงานของระบบประสาท ระบบผิวหนัง และระบบการมองเห็นให้เป็นไปตามปกติอีกด้วย

ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน:  เด็กอายุ 6-8 ปี ควรได้รับวิตามินบี 2 วันละ 0.6 มิลลิกรัม ส่วนเด็กอายุ 9-12 ปี ควรได้รับวันละ 0.9 มิลลิกรัม

วิตามินบี 3

ทำหน้าที่เป็นสารที่ใช้ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารอาหารเป็นพลังงานของร่างกาย จึงมีส่วนช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันตามปกติ นอกจากนั้นยังช่วยในการทำงานของระบบประสาทให้เป็นไปอย่างปกติเช่นเดียวกัน

ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน:  เด็กอายุ 6-8 ปี ควรได้รับวิตามินบี 3 วันละ 8 มิลลิกรัม ส่วนเด็กอายุ 9-12 ปี ควรได้รับวันละ 12 มิลลิกรัม

วิตามินบี 6

ทำหน้าที่เป็นสารที่ใช้ในการเผาผลาญสารอาหารประเภทโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต จึงมีส่วนช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานตามปกติ นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับการสร้างสารสื่อประสาทและสารในระบบภูมิต้านทานอีกหลายชนิด จึงมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้เป็นไปอย่างปกติ

ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน:  เด็กอายุ 6-8 ปี ควรได้รับวิตามินบี 6 วันละ 0.6 มิลลิกรัม ส่วนเด็กอายุ 9-12 ปี ควรได้รับวันละ 1.0 มิลลิกรัม

 

MILO_VitaminB-2

 

2. มอลต์สกัดจากข้าวบาร์เลย์: หลากคุณประโยชน์จากธัญพืช

มอลต์บาร์เลย์ เป็นวัตถุดิบที่ได้จากการสกัดเมล็ดข้าวบาร์เลย์ขณะที่กำลังแทงยอดและรากอ่อน ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวบาร์เลย์อุดมด้วยสารอาหารหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรตที่เป็นแหล่งสำคัญของพลังงาน รวมถึงโปรตีน แคลเซียม และมัลติวิตามินบีจากธรรมชาติ

นอกจากนั้นโครงสร้างของมอลต์บาร์เลย์ยังประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลคู่ขนาดใหญ่ ทำให้ร่างกายต้องใช้เวลาในการดูดซึมและเปลี่ยนสารอาหารเป็นพลังงานนานขึ้น ส่งผลให้ร่างกายได้รับพลังงานอย่างต่อเนื่องยาวนานขึ้นเช่นกัน

 

MILO_VitaminB-3

 

3. นมวัว: ที่มาของโปรตีนและแคลเซียมจากธรรมชาติ

เป็นทราบกันดีว่านมวัวเป็นแหล่งของโปรตีนและแคลเซียมที่สำคัญ โดยโปรตีนจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ในขณะที่แคลเซียมมีส่วนช่วยในการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง

สำหรับลูกรักในวัย 6-12 ปีของคุณแม่ จะต้องการโปรตีนอยู่ระหว่าง 1.05 - 1.10 กรัมต่อ 1 กิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน (เช่น น้ำหนัก 23 กิโลกรัม จะต้องการโปรตีนประมาณ 24 กรัมต่อวัน ) ส่วนแคลเซียมมีความต้องการระหว่าง 800 – 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน2 ดังนั้นการเลือกเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของนมวัวก็จะช่วยให้ลูกรักได้รับโปรตีนและแคลเซียมจากธรรมชาติด้วยค่ะ

 

MILO_VitaminB-4

 

4. โกโก้: เจ้าของรสอร่อยกลมกล่อมที่ใครๆ ก็หลงรัก

โกโก้ไม่ได้เป็นเพียงต้นกำเนิดของกลิ่นหอมและรสชาติอันเป็นที่โปรดปรานของหลายๆ คนเท่านั้น แต่โกโก้ยังอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด

จัดมื้อเบรคให้ลูกแข็งแรงพร้อมลุย ด้วยนมช็อกโกแลตมอลต์

สำหรับคุณแม่ที่อ่านแล้วสนใจอยากจะเลือกนมช็อกโกแลตมอลต์มาเป็นมื้อเบรคให้กับลูกรัก เราก็มีเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับการจัดอาหารว่างสำหรับเด็กวัยกำลังโตมาฝากกันด้วยค่ะ

เลือกช่วงเวลามื้อเบรคให้ห่างจากมื้ออาหารหลักพอสมควร

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการจัดมื้อเบรคให้เด็กวัยเรียน คือระหว่าง 9.30 – 10.00 น. ในช่วงเช้า และ 15.00 – 16.00 น. ในช่วงบ่าย3 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ห่างจากมื้ออาหารหลักพอสมควร เพราะหากจัดอาหารว่างใกล้มื้ออาหารหลักมากเกินไป ลูกอาจจะกินได้น้อยหรือไม่ยอมกินอาหารในมื้อถัดไปได้ค่ะ

แต่หากลูกรักของคุณแม่ต้องทำกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก เช่น เรียนเต้น เรียนว่ายน้ำ มีฝึกซ้อมหรือแข่งกีฬา คุณแม่ก็อาจต้องเตรียมอาหารเพิ่มขึ้น โดยจัดอาหารเบรคให้ในช่วงก่อนเริ่มกิจกรรมประมาณ 1 ชั่วโมงเพื่อเตรียมพลังงานให้พร้อม แล้วจัดมื้อเบรคหลังกิจกรรมอีกครั้งเพื่อเติมพลังงานและฟื้นฟูร่างกาย4

 

MILO_VitaminB-5

 

เตรียมอาหารว่างให้เหมาะกับกิจกรรมของลูก

โดยทั่วไปอาหารว่างที่เหมาะกับเด็กวัยเรียน ควรให้พลังงานไม่เกินมื้อละ 150 – 200 กิโลแคลอรี5 ขึ้นอยู่กับช่วงอายุและลักษณะของกิจกรรม เนื่องจากกิจกรรมแต่ละประเภททำให้เกิดการใช้พลังงานที่แตกต่างกันไป หากเป็นการเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายก็จะเกิดการใช้พลังงานที่มาก ขณะที่การนั่งเฉยๆ เช่น นั่งทำการบ้านหรืออ่านหนังสือก็จะเกิดการใช้พลังงานน้อยกว่า โดยมีงานวิจัยในเด็กวัยประถมศึกษา (โดยศึกษาในเด็กอเมริกันชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4 จำนวน 189 คน ในกีฬา 4 ประเภท คือ ฟุตบอล เบสบอล ซอฟต์บอล และแฟลกฟุตบอล)  พบว่า ในการแข่งกีฬา 1 ครั้ง (เวลาออกกำลังกายเฉลี่ย 27 นาที) เด็กๆ จะใช้พลังงานไปเฉลี่ยถึง 170 กิโลแคลอรี6  อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงานในกิจกรรมแต่ละครั้งนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของกีฬา ระยะเวลาที่ใช้ เพศ อายุ เป็นต้น

 

MILO_VitaminB-6

 

ดังนั้น คุณแม่จึงควรจัดมื้อเบรคให้เหมาะกับกิจกรรมของลูกรัก หากเป็นช่วงที่ลูกทำกิจกรรมเบาๆ เช่น นั่งวาดรูป เรียนหนังสือ การจัดนมช็อกโกแลตมอลต์เพียง 1 กล่องก็อาจจะเพียงพอแล้ว แต่หากเป็นวันที่ลูกเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งที่ต้องใช้พลังงานสูง คุณแม่อาจเลือกจับคู่นมช็อกโกแลตมอลต์กับอาหารทานเล่นที่มีประโยชน์ชนิดอื่น เพื่อเพิ่มพลังงานและสารอาหารให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น

  • นมช็อกโกแลตมอลต์ + ผลไม้  1 ชนิด เช่น สตรอว์เบอร์รี แอปเปิ้ลเล็ก ส้ม หรือกีวี่แช่เย็นหั่นชิ้นพอดีคำ การจับคู่นมกับผลไม้จะช่วยให้มื้อเบรคนั้นมีพลังงานเพิ่มขึ้น รวมได้รับใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุจากผลไม้เพิ่มขึ้นด้วย
  • นมช็อกโกแลตมอลต์ + อาหารคาว 1-2 ชิ้นเล็ก เช่น แครกเกอร์ทูน่า ไข่ต้ม หรือไก่ทอดน่องเล็ก ซึ่งเป็นแหล่งของโปรตีน เหมาะแก่การเติมพลังงานและฟื้นฟูกล้ามเนื้อภายหลังการออกแรงเล่นกีฬาของลูกรัก
  • นมช็อกโกแลตมอลต์ + ขนมจากธัญพืช 1 ชนิด เช่น ข้าวพองอบกรอบ คุกกี้ข้าวโอ๊ต หรือถั่วเมล็ดแห้ง โดยธัญพืชนั้นเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตและใยอาหาร นอกจากนั้นยังมีมัลติวิตามินบีจากธรรมชาติที่ช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานจากสารอาหารหลักอย่างมีประสิทธิภาพ

 

รู้หรือไม่! นมช็อกโกแลตจัดเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสมสำหรับฟื้นฟูร่างกายหลังเล่นกีฬา เพราะช่วยชดเชยการเสียน้ำ และมีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตต่อโปรตีน ที่ 4 :1 ซึ่งเหมาะแก่การเติมพลังงานให้ร่างกายและฟื้นฟูกล้ามเนื้อ4 นอกจากนั้นยังมีรสชาติที่กลมกล่อม ดื่มง่าย และทำให้รู้สึกสดชื่นอีกด้วย

เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับความรู้ดีๆ ที่นำมาฝากกัน แต่ถึงนมช็อกโกแลตมอลต์จะมีสารอาหารมากมายที่อัดแน่นด้วยคุณประโยชน์ คุณแม่ก็ต้องไม่ลืมกลุ่มอาหารชนิดอื่นด้วย อย่าลืมให้ลูกรักของคุณ แม่รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อยู่เสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้เขามีการเจริญเติบโตที่สมวัยและมีร่างกายแข็งแรงพร้อมลุยได้ในทุกกิจกรรมค่ะ

 

เอกสารอ้างอิง

Department of Health, State Government of Victoria. (2022). Vitamin B. Retrieved from https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/vitamin-b

คณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย.(2563). ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563. https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/dri/176096

อำนาจ จิตติวสุรัตน์ และ ปวีณา วงศ์อัยรา. (ม.ป.ป.). อาหารสำหรับเด็กวัยเรียน กินแบบไหนถึงเหมาะสมและพอดี. Retrieved from https://www.nestle.co.th/th/nhw/kids/parents/portion/nutrition-for-student

Kate Berz. (2014). Young Athletes: What to Eat Before, During and After Sports. Retrieved from https://blog.cincinnatichildrens.org/healthy-living/fitness-and-nutrition/young-athletes-what-to-eat-before-during-and-after-sports/

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). แนวทางการอาหารกลางวันเด็กวัยเรียน เมนูอาหารจานเดียวทางเลือก. Retrieved from https://nutrition2.anamai.moph.go.th /web-upload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2f16c/filecenter/Additional/UI/c7.pdf

Bennion N, Spruance LA, Maddock JE. Do Youth Consume More Calories than they Expended in Youth Sports Leagues? An Observational Study of Physical Activity, Snacks, and Beverages. Am J Health Behav. 2020 Mar 1;44(2):180-187. doi: 10.5993/AJHB.44.2.6. PMID: 32019651

Nicole LaMarco. (2019). The Benefits of Malt Extract Beverages. Retrieved from www.livestrong.com: https://www.livestrong.com/article/497215-the-benefits-of-malt-extract-beverages/