ความสำคัญของดัชนีมวลกายเด็กDT ความสำคัญของดัชนีมวลกายเด็กMB

ความสำคัญของดัชนีมวลกายเด็ก และวิธีช่วยให้ลูกมีค่า BMI เด็กที่เหมาะสมตามวัย

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) คืออะไร

เราเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่น่าจะคุ้นกับคำว่า ดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) ที่ใช้ประมวลสภาวะความสมดุลของร่างกาย โดยวัดจากน้ำหนักและส่วนสูง

ซึ่งสูตรการคำนวณจะใช้น้ำหนักตัว (กก.) หารด้วยส่วนสูง (ม.) ยกตัวกำลังสอง ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ BMI ของตัวเองอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ สามารถคำนวณและดูข้อมูลได้จากลิงก์นี้

แต่รู้หรือไม่ว่า BMI ไม่ใช่เรื่องของผู้ใหญ่เท่านั้น แต่เด็กเองก็มีค่าดัชนีมวลกายเด็กหรือค่า BMI เด็กเช่นเดียวกัน


ค่าดัชนีมวลกายเด็กหรือค่า BMI เด็กนั้นแตกต่างจากของผู้ใหญ่ เพราะแม้ค่า BMI เด็กจะสามารถคำนวณออกมาเป็นตัวเลขเหมือนของผู้ใหญ่ได้ แต่ในการนำมาวิเคราะห์การเจริญเติบโตจะเน้นดูจากเพศและอายุเป็นหลัก เนื่องจากเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของเด็กมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเด็กเติบโตขึ้นตามวัย ดังนั้น เกณฑ์การวัด BMI เด็กจึงแตกต่างจากผู้ใหญ่ และมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า BMI for age

วิธีอ่านค่าดัชนีมวลกายเด็ก

ด้วยเพราะเหตุนี้ค่าดัชนีมวลกายเด็กหรือเลข BMI ของเด็กที่ใช้ประเมินการเจริญเติบโตจึงอยู่ในรูปแบบของเปอร์เซ็นไทล์ ตามตัวอย่างกราฟด้านล่างนี้ ซึ่งเป็นการแสดงค่า BMI สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 2 - 20 ปี โดยแยกระหว่างเด็กชายและหญิง

ความสำคัญของดัชนีมวลกายเด็ก1

 

(อ้างอิง: http://docshare01.docshare.tips/files/19962/199624102.pdf)

วิธีดูว่าลูกของเรามี BMI อยู่ในระดับใด โดยเปรียบเทียบจากค่า BMI ข้างต้น สามารถใช้เกณฑ์ขององค์กร Center of Disease Control (CDC) ของสหรัฐฯ ที่ระบุไว้ว่า

  • เปอร์เซนไทล์น้อยกว่า 5 ถือว่าเด็กมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไป

  • เปอร์เซนไทล์ตั้งแต่ 5 แต่ไม่เกิน 85 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ

  • เปอร์เซนไทล์ตั้งแต่ 85 แต่ไม่เกิน 95 ถือว่ามีความเสี่ยงน้ำหนักเกิน

  • เปอร์เซนไทล์ตั้งแต่ 95 เป็นต้นไป ถือว่าน้ำหนักเกิน

มาดูวิธีอ่านกราฟค่า BMI เด็กกัน สมมติว่า ลูกชายของคุณพ่อคุณแม่อายุ 9 ขวบ สูง 1.30 ม. หนัก 34 กก. คำนวณ BMI ตามสูตรข้างต้นออกมาแล้วได้ค่า BMI ที่ 20.12 เมื่อเทียบกับกราฟนี้แล้วจะเห็นว่าอยู่ตรงเปอร์เซนไทล์ที่เกิน 90 มาเล็กน้อย แสดงว่ามีความเสี่ยงน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ปกติ

ความสำคัญของดัชนีมวลกายเด็ก2

 

อีกตัวอย่างหนึ่ง ถ้าลูกสาวเราอายุ 9 ขวบ สูง 1.28 ม. หนัก 28 กก. คำนวณค่า BMI ตามสูตรแล้วได้เท่ากับ 17.09 เทียบกับกราฟแล้ว เปอร์เซนไทล์ของลูกจะที่เกือบ 75 แสดงว่าน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ความสำคัญของดัชนีมวลกายเด็ก3

 

การเข้าใจดัชนีมวลกายเด็กสำคัญอย่างไร

การเข้าใจ BMI ของเด็กและรู้ว่าลูกของเราอยู่ในเปอร์เซนไทล์ไหน จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่วางแผนด้านโภชนาการลูกได้อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกายของลูกมากขึ้น ซึ่งเรามีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ มาฝากกัน เผื่อจะช่วยเป็นไอเดียให้แต่ละบ้านได้บ้าง

วิธีเสริมค่า BMI เด็กให้เหมาะสมตามวัย

- ซื้อผลไม้ติดตู้เย็นไว้

แรก ๆ เด็กอาจจะกินยากเพราะยังไม่คุ้นเท่าไร แต่ลองซื้อผลไม้ติดไว้และชวนลูกกินเป็นประจำเมื่อมีจังหวะ ไม่ได้บังคับ แต่ทำให้เป็นธรรมชาติ ลูกจะค่อยๆ คุ้นกับการกินผลไม้เป็นของว่างแทนขนมกรุบกรอบหรือขนมหวานได้

- กินเป็นตัวอย่าง

แม้จะเข้าสู่วัยเรียนที่ใช้เวลาในโรงเรียนมากขึ้นแล้ว แต่เด็กก็ยังมีพ่อแม่เป็นตัวอย่างใกล้ตัวอยู่เสมอ การเลือกกินอาหารที่มีคุณค่าและทำให้การกินอาหารครบ 5 หมู่เป็นเรื่องปกติของครอบครัวจะทำให้ลูกซึมซับพฤติกรรมนี้จากที่บ้านได้ และการกินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการถือเป็นพื้นฐานของเรื่องการเจริญเติบโต ซึ่งสามารถเริ่มต้นได้เลยตั้งแต่การให้ความสำคัญกับมื้อเช้าของลูกๆ หากคุณแม่มีไอเดียอาหารเช้าใหม่ๆ ก็ช่วยให้ลูกสนุกกับการทานอาหารได้มากขึ้น นอกจากนี้ คุณแม่สามารถศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของอาหารเช้ายอดนิยมได้ที่ ไมโลคู่อาหารเช้า

- ชวนลูกออกกำลังกาย

นอกจากเรื่องโภชนาการเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับค่า BMI ของเด็กโดยตรงแล้ว การออกกำลังกายก็มีส่วนสัมพันธ์กับน้ำหนักและค่าดัชนีมวลกายของเด็ก (ค่า BMI เด็ก) อีกด้วย คุณพ่อคุณแม่อาจลองหากิจกรรมหรือวิธีออกกำลังกายยังไงให้สูงที่ทำให้ลูกได้ออกกำลังสัปดาห์ละ 3 - 5 ครั้ง ยิ่งถ้าเป็นกีฬาที่ลูกชอบ รับรองว่าเขาจะตั้งตารอวันที่คุณพ่อคุณแม่พาไปทำกิจกรรมนี้เลยล่ะ หรือสามารถค้นหากิจกรรมที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้

ค่า BMI เด็กมีประโยชน์ต่อคุณพ่อคุณแม่เพราะเป็นเกณฑ์ที่ช่วยในการประเมินการเจริญเติบโตด้านร่างกายของลูกได้ก็จริง แต่เราไม่อยากให้คุณพ่อคุณแม่ยึดติดแต่กับตัวเลขนี้เท่านั้น ควรใช้ BMI เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเข้าใจการเติบโตของลูกได้ดีขึ้นมากกว่าจะเป็นตัวเลขที่นำไปสู่การสร้างกรอบและกฎเกณฑ์ให้กับลูกจนบรรยากาศการเลี้ยงดูตึงเกินไป 

เพราะถ้าเราเข้าใจลูกในทุกด้านของพัฒนาการและการเจริญเติบโต เราก็จะเลี้ยงลูกได้อย่างเหมาะสม สร้างบรรยากาศที่ทุกคนในครอบครัวมีความสุข